เมื่อ Joomla โดน Hack ต้องทำอย่างไร
เมื่อผู้ใช้บริการ Hosting ที่ใช้ Joomla ซึ่งเป็น Open Source ในการจัดทำเว็บไซต์ หรือพัฒนาเว็บไซต์ของตน ต้องเจอะกับเว็บไซต์โดน Hack
จะรู้ได้อย่างไรว่า อาจโดน Hack
1. เช็คจากการเรียกเว็บไซต์ หากเจอหน้าขาว เป็น Blank Page หรือในบางราย อาจจะเป็นภาพเว็บอื่นๆ ไปเลย กรณีเป็น Blank Page ให้ลองเรียกเป็น http://www.ชื่อเว็บ/index.php ดูอีกที หากปรากฎเป็นข้อความที่ไม่ใช่หน้าเว็บไซต์ ก็สามารถสรุปได้ว่า โดน Hacker เล่นงานได้แล้วค่ะ
2. เข้า Database เพื่อตรวจสอบว่า Hack ผ่านช่องทาง administrator ของ joomla ด้วยหรือไม่ ไปที่ Table ที่ชื่อว่า jos_user ค่ะ ตรงนี้ ชื่อ prefix อาจเปลี่ยนไปตามที่ได้เคยตั้งไว้ เมื่อเข้าไปแล้ว จะเห็นชื่อ user ต่างๆ ค่ะ กรณีมีการตั้งค่าไว้หลาย admin แต่โดยปกติแล้ว จะมี superadmin รายการเดียว และเป็น ID 62 ค่ะ หากพบชื่อ User อื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเลย โดยเฉพาะเป็นชื่อของคนต่างประเทศแล้ว สามารถสรุปได้เลยว่า Hacker รายนั้น เขาจะสามารถ login เข้า administrator ของเว็บไซต์ผู้ใช้บริการ Hosting ได้ด้วยค่ะ ให้ทำการลบ user นั้นทิ้งได้จาก table jos_user ค่ะ
หลังจากนั้น ให้ผู้ใช้บริการ Hosting ทำการป้องกันเว็บไซต์จากการโดน hack ด้วยการ
1. เปลี่ยนค่า FTP Password
2. ตรวจสอบว่าค่า permission ควรเปิดเป็น 777 เฉพาะไฟล์ที่ทาง Joomla กำหนดเท่านั้น นอกนั้นไฟล์อื่นๆ ขอให้เป็น 755 หรือตาม default ของทาง Joomla ค่ะ สามารถตรวจสอบว่าไฟล์ใดที่ต้องเป็น 777 ได้จากการที่ผู้ใช้บริการ Hosting ทำการ login เข้า admin ของ joomla แล้วไปที่ Help ต่อด้วย System Info และ Directory Permission จะเห็นชื่อไฟล์ที่ควรเปิดเป็น 777 ค่ะ
3. เปลี่ยน User & Password ของ superadmin จากชุดเดิมเป็นชุดใหม่ค่ะ ด้วยการเข้าไปที่ Database ที่ Table jos_user เช่นเดิม จากนั้นให้คลิ๊กเปิดดู และ คลิ๊ก edit ที่ ID 62 ดูช่อง User สามารถกำหนดเปลี่ยนได้เลยค่ะ ส่วนช่อง password ให้เลือกฟังก์ชั่นเป็น MD5 ก่อน แล้วจึงใส่ password ตามที่ต้องการอีกครั้งค่ะ
4. อย่าลืมหมั่น scan คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน upload และงานไฟล์ joomla ก่อนการ scan ต้องทำการupdate ตัวโปรแกรม anti virus รวมถึงการเลือกใช้ตัวโปรแกรม anti virus ที่เหมาะกับ internet เช่น avg, avira, avast ฯลฯ
5. การหมั่นเปลี่ยน ftp password จะช่วยลดปัญหาการโดนฝัง worm script และการโดน Hack ด้วย
6. หากผู้ใช้บริการ Hosting นิยมการใช้โปรแกรม Open Source ในการพัฒนาเว็บไซต์ของตน จำเป็นที่จะต้องหมั่นศึกษาแหล่งความรู้ของ open source นั้นๆ เพื่อ update ตัวโปรแกรมให้ทันสมัยและปลอดภัยจากการโจมตีต่างๆ
7. การหมั่นตรวจสอบไฟล์ สำหรับผู้ใช้บริการ Hosting ที่ใช้งานบรรดา Open Source เป็นสิ่งที่ควรทำประจำ หากเกิดปัญหา จะสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที
8. การ backup ข้อมูลต่างๆ ไว้สำรองนอกเหนือจากการรอบริการจากผู้ให้บริการ Hosting ควรทำเป็นวาระ เผื่อกรณีฉุกเฉิน
ผู้ใช้บริการ Hosting ต้องยอมรับว่า เหล่า Open Source นั้น มีข้อดีและมีข้อเสีย ข้อเสียจากประสบการณ์ของผู้ให้บริการ Hosting นั่นก็คือ การโดนโจมตี เจาะ ตัวโปรแกรมง่ายมาก ไม่ว่าจะเป็นพวก worm script หรือการ Hack ดังนั้น ผู้ใช้บริการ Hosting ต้องหมั่นดูแลและป้องกันตามที่แนะนำไว้ข้างต้น ซึ่งจะทำให้โอกาสในการเกิดปัญหามีน้อยลง และ/หรือ ทำให้การแก้ไขปัญหา เมื่อพบเจอ เราสามารถแก้ไขได้เร็วขึ้น (หรือยังมีโอกาสที่จะแก้ไขได้ โดยไม่ต้องเริ่มนับ 1 ใหม่)
ในด้านผู้ให้บริการ Hosting ย่อมไม่อยากให้เกิดการวาง worm script หรือการโดน Hack อยู่แล้ว ไม่เพียงแต่ผู้ใช้บริการ จะได้รับความเดือดร้อน ทางฝั่งผู้ให้บริการ Hosting ก็ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น IP ได้รับการจัดให้เป็น Black List หรือ เครื่อง server จะทำงานหนักมากกว่าที่ควรจะเป็น เป็นต้น